รากหม่อน

สรรพคุณของหม่อน
ต้นหม่อน
  1. ใบหม่อนมีรสจืดเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระงับประสาท (ใบ)[1],[4]
  2. ใบใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (ราก)[4]
  3. กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น (กิ่ง)[8]
  4. ช่วยบำรุงหัวใจ (ผล)[8]
  5. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)[2]
  6. ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ (ผล)[3],[4]
  7. ผลหม่อนมีรสเปรี้ยวหวานเย็น มีสรรพคุณช่วยดับร้อน คายความร้อนรุ่ม ขับลมร้อน ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการกระหายน้ำ และทำให้ร่างกายชุ่มชื่น (ผล)[1],[2],[4],[8]
  8. ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัด ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ และเป็นยาช่วยขับลมร้อน (ใบ)[1],[2],[3],[4]
  9. ใบมีรสขม หวานเล็กน้อย เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาแก้ไอร้อนเนื่องจากถูกลมร้อนกระทบ (ใบ)[2]
  10. ใบมีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ (ใบ)[3],[4]
  11. ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ใบ)[1]
  12. เปลือกรากหม่อนมีรสชุ่ม เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อปอดและม้าม ใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด แก้ไอร้อนไอหอบ (เปลือกราก)[2]
  13. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ (เมล็ด)[3]
  14. ใบนำมาทำเป็นยาต้ม ใช้อมหรือกลั้วคอแก้อาการเจ็บคอ คอแห้ง แก้ไอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น หล่อลื่นภายนอก (ใบ)[2],[3],[4]
  15. รากนำมาตากแห้งต้มผสมกับน้ำผึ้ง มีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจและการมีน้ำสะสมในร่างกายอย่างผิดปกติ (ราก)[4]รากหม่อน
  16. ยอดหม่อนนำมาต้มกับน้ำดื่มและล้างตาเป็นยาบำรุงตา (ยอด)[8] ส่วนผลมีสรรพคุณทำให้เส้นประสาทตาดี ทำให้สายตาแจ่มใส ร่างกายสุขสบาย (ผล)[8]
  17. ใบนำมาต้มเอาน้ำใช้ล้างตา แก้ตาแดง ตามัว ตาแฉะ และตาฝ้าฟาง (ใบ)[1],[4]
  18. ใบมีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดเย็นและตาสว่าง (ใบ)[2], ส่วนผลมีสรรพคุณช่วยทำให้หูตาสว่าง (ผล)[2]
  19. ใบแก่นำมาตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก (ใบแก่)[4]
  20. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เปลือกรากประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หรือจะใช้ใบนำมาทำเป็นชาเขียวใช้ชงกับน้ำดื่มก็ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน นอกจากนี้ผลก็มีสรรพคุณรักษาเบาหวานได้เช่นกัน (ราก,เปลือกราก,ใบ,ผล)[2],[3],[8]
  21. ใบอ่อนหรือแก่นำมาทำเป็นชาเขียว ใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยลดไขมันในเลือด (ใบ)[3]
  22. ช่วยขับน้ำในปอด (เปลือกราก)[2]
  23. กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยจัดความร้อนในปอด และกระเพาะอาหาร ช่วยขจัดการหมักหมมในกระเพาะอาหารและเสลดในปอด (กิ่ง)[8]
  24. ผลมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องผูก (ผล)[2]
  25. ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาเย็น ยาระบายอ่อนๆ และมีเมล็ดที่ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร (ผล)[3],[4] ส่วนเปลือกต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาถ่าย ยาระบายเช่นกัน (เปลือกต้น)[3],[4]
  26. เปลือกต้นใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (เปลือกต้น)[3],[4] รากช่วยขับพยาธิ (ราก)[4]
  27. เปลือกรากมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกราก)[2]
  28. กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง มีกลิ่นฉุนอันเกิดจากความร้อนภายใน (กิ่ง)[8]
  29. ผลเป็นยาเย็นที่ออกฤทธิ์ต่อตับและไต มีสรรพคุณช่วยบำรุงตับและไต (ผล)[1],[2],[4]
  30. ช่วยรักษาตับและไตพร่อง (ผล)[2]
  31. รากมีสรรพคุณเป็นยาสมาน (ราก)[4]
  32. ใบนำมาอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าว ใช้วางบนแผลหรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด (ใบ)[4]
  33. ใบใช้ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอกรักษาแผลจากการนอนกดทับ (ใบ)[4]
  34. ใบใช้เป็นยาแก้อาการติดเชื้อ (ใบ)[4]
  35. ช่วยลดอาการบวมน้ำที่ขา (เปลือกราก)[2]
  36. ช่วยแก้ข้อมือข้อเท้าเกร็ง แก้โรคปวดข้อ ไขข้อ (ผล)[2],[4],[8]
  37. ช่วยแก้แขนขาหมดแรง (ราก)[4]
  38. กิ่งหม่อนมีรสขมเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาขับลมชื้นแก้ข้ออักเสบเนื่องจากลมชื้นเกาะติด หรือลมร้อนที่ทำให้ปวดแขน ขาบวม หรือมือเท้าแข็งเกร็ง เส้นตึง (กิ่ง)[2] ช่วยรักษาอาการปวดมือ เท้าเป็นตะคริว เป็นเหน็บชา ด้วยการใช้กิ่งหม่อนและโคนต้นหม่อนเก่าๆ นำมาตัดเป็นท่อนๆ ผึ่งไวให้แห้ง แล้วนำมาต้มกิน (กิ่ง)[8]
  39. ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ (ผล)[8]
  40. ส่วนในประเทศจีนจะใช้เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ และผล เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไอ หืด วัณโรคปอด ขับปัสสาวะ การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ และโรคปวดข้อ (เปลือกราก,กิ่งอ่อน,ใบ,ผล)[4]

หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [2] เปลือกรากแห้ง ให้ใช้ครั้งละ 6-15 กรัม ส่วนใบแห้งให้ใช้ครั้งละ 6-15 กรัม, ส่วนผลแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้เข้าตำรับยาตามที่ต้องการ[2]



ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหม่อน
    ผลหม่อน
  • เปลือกรากของต้นหม่อน พบว่ามีสาร Betulinic acidm Mulberrinm Mulberrochromene, B-amyrin, Cyclomulberrin, Cyclomulberrochromene, Undecaprenol, Dodecaprenol, ยาง, น้ำตาลกลูโคส เป็นต้น[2]
  • กิ่งหม่อน พบว่ามีสาร Morin, Maclurin, 4-tetrahydroxybenzophenone, กลูโคส Adenine เป็นต้น[2]
  • ใบหม่อน พบว่ามีสาร Adenine, Amylase, Choline, Crocarotene, Isoquercutrin, Succinic acid, Trigonelline, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินบี2, วิตามินซี, แร่ธาตุ, แคลเซียม, กลูโคส, แทนนิน เป็นต้น และยังพบสาร Bioflavonoid และสาร Glycoprotein, Moran A เป็นสารลดน้ำตาลในเลือด[2],[3] ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าใบมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ (ได้แก่ calystegin B-2, 1-deoxy ribitol, fagomine, nojirimycin, zeatin riboside), สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (ได้แก่ albafuran C, astragalin, aromadendrin, chalcomoracin, kaempferol, kuwanol, kuwanon, quercetin, quercitrin, moracetin, morin, rutin), สารในกลุ่มคูมาริน (ได้แก่ bergapten, marmesin, scopoletin, umbelliferone), สารในกลุ่มลิกแนน (ได้แก่ broussonin A, broussonin B)[5]
  • ผลหม่อน พบว่ามีสาร Saccharides 27%, Citric acid 3%, กลูโคส, แทนนิน, เกลือแร่, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, แคลเซียม, และ Cyanidin เป็นต้น ส่วนเมล็ดหม่อนพบ Urease[2],[3]
  • เนื้อไม้พบสาร Morin ส่วนลำต้นประกอบไปด้วย SteroidalSapogenin เปลือกพบ α-amyrin[3]
  • จากการทดลองกับหนูขาว พบว่าสารจาดใบและกิ่งหรือเปลือกหม่อน ไม่ว่าจะนำมาต้มเป็นน้ำหรือนำไปสกัดเป็นผง ก็ล้วนแต่มีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิตของหนูทดลองได้ อีกทั้งยังพบว่ามีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ[2]
  • สารสกัดจากใบหม่อนมีสารในกลุ่ม Flavonoids โดยในขนาด 581.7 มก./กก. ของน้ำหนักสารสกัดแห้ง เมื่อนำมาทดสอบกับหนูถีบจักรที่ถูกชักนำให้มีระดับไขมันในเลือดสูง พบว่าระดับของ Triacylglycerol, Total Cholesterol, Low density lipoprotein cholesterol ลดจาก 540, 464 และ 200 มก./มล. ตามลำดับ และยังพบว่ามีประสิทธิภาพหลังจากให้กินเป็นเวลา 12 ชั่วโมง จะดีกว่าที่เวลา 6 ชั่วโมง ในขณะที่อัตราส่วนของ High density lipoprotein cholesterol ต่อ Triacylglycerol และ High density lipoprotein cholesterol ต่อ Low density lipoprotein cholesterol เพิ่มขึ้นจาก 0.33 และ 0.52 เป็น 0.42 และ 0.57 ตามลำดับ[3]
  • หม่อนและสมุนไพรอีกสองชนิด มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบของความดันโลหิต นักทลองสันนิษฐานว่า ส่วนผสมที่เรียกว่า ob-x หรือยาที่มีส่วนของสมุนไพรทั้งสามชนิด สามารถช่วยปรับปรุงการเผาผลาญไขมันในร่างกายและมีการมีน้ำหนักเพิ่มได้ ซึ่งหนูทดลองที่ได้กินอาหารที่มีไขมันสูงเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ามีน้ำหนักและ Tissue mass เพิ่มขึ้น โดยากรเปรียบเทียบกับหนูที่ได้กินอาหารที่มีไขมันต่ำ ในทางกลับกัน การกินอาหารที่มีไขมันสูงที่ผสมกับยา ob-x ยังช่วยลดการไหลเวียนและระดับของ Triglyceride และ Total cholesterol อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยยับยั้งการเกิดไขมันจับตัวได้อีกด้วย จากผลการทดสอบพบว่าหม่อนหรือสาร ob-x ได้ช่วยในการควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นได้ และยังช่วยส่งเสริมการสลาย Tissue mass และไขมันในระบบไหลเวียนของเลือดได้ด้วย[3]
  • จากการทดลองที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ.2007 ได้ทำการศึกษาปฏิกิริยาของใบหม่อนกับระดับ Glucose ในเลือด และความปลอดภัยในการบริโภค โดยการทดสอบกับกลุ่มอาสาสมัครนั้น มีผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 5 คน และกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเล็กน้อย 8 คน เมื่ออาสาสมัครทั้งหมดได้กินใบหม่อนจำนวนครั้งละ 1.8 กรัม วันละ 3 ครั้ง กับน้ำ เป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่ากลุ่มแรกมีระดับน้ำตาลในเลือดและ HbAIC อยู่ที่ 86-91 mg./dl. และ 4.7% ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจาก 3 เดือน ส่วนอีกกลุ่ม (กลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเล็กน้อย) นั้นมีระดับน้ำตาลและ HbAIC ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากประมาณ 153 mg./dl. และ 6.3% ลดลงเหลือ 106 mg./dl. และ 5.9% อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงของผลเลือดและปัสสาวะ ได้แก่ Total cholesterol (จาก 203 เหลือ 189 mg./dl.), Triglyceride (จาก 150 เหลือ 103 mg./dl.), และ Urea acid (จาก 5.2 เหลือ 4.9 mg./dl.) มาสู่ระดับปกติหลังจากการกินใบหม่อน และไม่พบว่ามีผลข้างเคียงแต่อย่างใด จึงสรุปได้ว่าใบหม่อนมีผลต่อ Hyperglycemic ด้วยการลดระดับน้ำตาลลง อีกทั้งยังไม่มีผลข้างเคียงในระยาวอีกด้วย[3]
  • เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ประเทศจีนได้ทำการทดลองผลการลดไขมันของสารสกัดจากใบหม่อน โดยทำการทดลองในหนูทดลอง ด้วยการให้สารสกัด M-F 581 มิลลิกรัม ซึ่งได้มาจากใบหม่อน โดยใช้เวลานาน 12 ชั่วโมง พบว่าสามารถลดระดับ Triglyceride จาก 388 มิลลิกรัม เหลือ 257 มิลลิกรัมได้[3]
  • เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการศึกษาเพื่อทดสอบผลตัวยับยั้งในหนูทดลองขนาดเล็กของ Disacharidase enzyme ในลำไส้เล็ก และ Deoxynojirimycin ที่มีอยู่ในผงของใบหม่อน แม้ว่าปฏิกิริยาการยับยั้ง Maltase ของชาและใบหม่อนจะมีผลใกล้เคียงกัน แต่ผลการยับยั้ง Sucrose นั้น ใบหม่อนจะมีมากกว่าชาถึง 10 เท่า โดยปริมาณ Deoxynojirimycin ในใบหม่อน คือ 128±12 กิโลกรัมต่อ 100 มิลลิกรัม[3]
  • ใบหม่อนมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้[2] สารสกัดด้วยน้ำและสาร 2-O-?-D-galactopyranosyl-1-deoxynojirimycin จากใบหม่อนมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองที่เป็นเบาหวาน และสาร 1-deoxynojirimycin มีฤทธิ์แรงในการยับยั้งเอนไซม์ ?-glucosidase ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงช่วยยับยั้งการย่อยแป้งในอาหาร ทำให้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ใบหม่อนจึงมีศักยภาพที่จะนำมาใช้ในผู้ป่วยเบาหวานและใช้ในการควบคุมน้ำหนักได้[6]
  • การเสริมใบหม่อนในอาหารไก่ สามารถช่วยลดอันตรายจากคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเนื้อไก่และไข่ไก่ได้[8]
  • สารสกัดจากเปลือกรากหม่อน เมื่อนำมาฉีดเข้าเส้นเลือดดำของหนูขาวทดลอง พบว่า ทำให้หนูขาวมีส่วนสงบนิ่งได้ และยังพบว่าความดันโลหิตของหนูลดลง ส่วนการนำมาทดลองกับกระต่ายนั้นพบว่า หลอดเลือดหูของกระต่ายได้ขยายตัวกว้างขึ้น[2]
  • น้ำคั้นและสารสกัดจาใบหม่อนมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด รวมไปถึงสารสำคัญที่เป็นตัวยับยั้ง Oxidation ของ LDL[6]
  • สารสำคัญที่พบในใบหม่อนมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์จากการทพลายของอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์เพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันในหนูทดลอง และมีคุณสมบัติลดภาวะภูมิไวเกิน[9],[12]
  • จากการศึกษาการยับยั้งฤทธิ์การกลายพันธุ์ของแมลงหวี่ที่เกิดจากยูรีเทนด้วยชาใบหม่อน ด้วยการใช้น้ำชาใบหม่อนที่สกัดด้วยน้ำร้อน แล้วนำไปผสมกับอาหาร + ยูรีเทน (สารก่อกลายพันธุ์) ก่อนใช้เป็นอาหารของหนอนแมงหวี่ พบว่า ชาใบหม่อนแบบชาเขียว สามารถช่วยลดการกาอกลายพันธุ์ได้สูงถึง 61.01% และการใช้ชาใบหม่อนผสมในการหมักไก่ก่อนนำไปทด ก็สามารถช่วยลดการก่อกลายพันธุ์ได้มากถึง 40-60% ดังนั้น ชาใบหม่อนจึงน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในด้านการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งได้[8]
  • กิ่งหม่อนเป็นตัวยาบำรุงขนของกระต่ายและแกะได้อย่างมีประสิทธิภาพ[2]
  • สารสกัดจากใบหม่อนสามารถช่วยลดอาการเกร็ง อาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย มีพฤติกรรมก้าวร้าว ช่วยระงับความกังวล และเพิ่มเวลาการนอนในหนูทดลองได้ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคที่มีความผิดปกติทางจิตได้[9],[10]
  • สารสกัดจากใบหม่อนมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ได้แก่ Escherichia coli, Neisseria gonorrheae, Pseudomonas aeruginosa, Proteus vulgaricus, Staphylococcus aureus, Streptococcus faecium และเชื้อราได้แก่ Aspergillus niger, Aspergillus tamari, Fusarium oxysporum, Peniciliumoxalicum ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติของการใช้ใบหม่อนในการแพทย์แผนโบราณที่ใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ ได้แก่ ท้องร่วง ลำไส้ติดเชื้อ โรคผิวหนัง ไข้จากการติดเชื้อ การติดเชื้อในหู เป็นต้น[11]
  • ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ได้แก่ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ บำรุงผิว กำจัดหอยทาก[5] มีฤทธิ์สงบประสาท ลดอาการบวม ยับยั้งเอนไซม์ของเชื้อเอชไอวี มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา เชื้อไรวัสที่ก่อโรคเริมที่อวัยวะเพศ[6]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ ด้วยการฉีดสารสกัดจากใบหม่อน 10% เข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร (ขนาด 60 เท่าของขนาดที่ใช้กับคน) เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ และเมื่อให้ในขนาดสูงเกิน 250 เท่าของขนาดที่ใช้กับคน พบว่ามีพิษต่อตับ ไต และปอด ส่วนสารสกัดจากใบหม่อน ไม่ทำให้เกิดอาการระคาบเคือง ไม่ทำลายเม็ดเลือด และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้[5]