น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil) คือ น้ำมันที่ได้จากการสกัดแยกน้ำมันจากเนื้อผลของ มะพร้าว (Cocos nucifera L.) โดยองค์ประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าวคือกรดไขมันอิ่มตัว (เกิน 90% ของปริมาณกรดไขมันทั้งหมด) ซึ่งกรดไขมันเหล่านี้จะมีขนาดโมเลกุลปานกลาง (medium chain fatty acid) อย่างเช่น กรดลอริก (Lauric Acid) เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะถูกเผาผลาญได้ดี จึงถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมันได้น้อยกว่ากรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว
น้ำมันมะพร้าวจากการศึกษาพบว่าน้ำมันมะพร้าวไม่ได้มีผลต่อการลดลงของน้ำหนักตัวของกลุ่มผู้ทดลอง (น้ำหนักตัวเท่าเดิม และไม่มีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น)และไม่ได้ทำให้ไขมันชนิดเลว (LDL) เพิ่มมากขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) จึงมีผลโดยตรงต่อการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอันเป็นสาเหตุมาจากไขมันเลวลงได้
น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ที่จำหน่ายตามท้องตลาด ก็คือ น้ำมันที่สกัดมาจากเนื้อมะพร้าวโดยไม่ผ่านความร้อนและไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี ซึ่งน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ หรือ Virgin Coconut Oil จะมีลักษณะใส ไม่มีสี ไม่มีตะกอนและสามารถรับประทานได้
เรานิยมใช้น้ำมันมะพร้าวที่ดีที่สุดคือการใช้น้ำมันมะพร้าวแทนน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ในการประกอบอาหาร หรือจะใช้รับประทานเป็นอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน โดยผู้ใหญ่รับประทานวันละ 3-4 ช้อนชา ส่วนเด็กรับประทานวันละ 1-2 ช้อนชา โดยแบ่งรับประทานออกเป็นมื้อๆจนครบตามจำนวน หรือจะนำมาใช้ผสมเป็นเครื่องดื่มต่างๆหรือน้ำผลไม้ก็ได้เช่นกัน (น้ำมันมะพร้าวผสมกับน้ำมะเขือเทศก็อร่อยใช้ได้เลยทีเดียว) และสำหรับสาวๆ ส่วนมากจะนิยมใช้ในการหมักผม ใช้เป็นคลีนซิ่งทำความสะอาดผิวหน้า และนำมาใช้ทาบำรุงผิว เป็นต้น
น้ำมันมะพร้าวสามารถเป็นไขได้เมื่อมีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา โดยจะมีลักษณะเป็นครีมขาว เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นน้ำมันอิ่มตัวสูง จึงเป็นไขได้เร็วกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจหากไปหาซื้อตามจุดที่วางขายอย่างในห้างสรรพสินค้าต่างๆ แล้วน้ำมันมะพร้าวจะเป็นไข ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องเสียหายอะไร แต่กลับเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าน้ำมันมะพร้าวยี่ห้อนี้มีคุณภาพที่ดีต่างหาก เมื่อซื้อมาแล้วก็เพียงแค่วางไว้ตามอุณหภูมิห้องก็จะกลับมาเป็นปกติ แต่ห้ามตากแดดนะ
การตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันมะพร้าว
  • ในเบื้องต้นให้ดูที่โรงงานการผลิต ฉลากบนขวดมีเครื่องหมาย อย.รับรองหรือไม่
  • น้ำมันมะพร้าวที่ดีควรมีอายุการใช้งานนานมากประมาณ 5 ปีแม้จะเปิดใช้แล้วก็ตาม (แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นหืน เหม็นเปรี้ยวแล้วไม่ควรรับประทาน)
  • น้ำมันจะต้องมีความใส และความโปร่งแสง กรณีอาจจะดูไม่ชัดเจนถ้าบางยี่ห้อขวดมีสีไม่ใช่สีใส
  • น้ำมันมะพร้าวที่ดีต้องไม่มีกลิ่นหืนหรือกลิ่นเปรี้ยว แม้จะเปิดใช้แล้วก็ต้องไม่มีกลิ่น และต้องมีความหอมให้ความรู้สึกเหมือนเป็นน้ำมันสดใหม่
  • เนื้อของน้ำมันมะพร้าวเมื่อทาแล้วจะต้องให้ความรู้สึกเบาบาง มีความหนืดน้อย หรือเมื่อรับประทานจะรู้สึกเหมือนว่าละลายในปากและผ่านลำคอได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว และเมื่อกลืนลงคอจะต้องไม่มีเลี่ยนและไม่มีกลิ่นรุนแรง
  • น้ำมันมะพร้าวเมื่อนำมาใช้ทาผิวควรจะซึมเข้าสู่ผิวอย่างรวดเร็ว และต้องไม่คราบน้ำมันไว้บนผิว
ประโยชน์น้ำมันมะพร้าว
    น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
  1. น้ำมันมะพร้าวใช้ทาผิวเพื่อบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสไม่แห้งกร้าน
  2. ช่วยในการชะลอวัย ชะลอความเสื่อมของร่างกาย เพราะน้ำมันมะพร้าวมีบทบาทในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
  3. ไม่ทำให้อ้วน เป็นตัวช่วยเสริมสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีโมเลกุลขนาดกลางจึงถูกย่อยได้เร็วไม่มีการสะสมในร่างกาย โมเลกุลตัวนี้จะไปกระตุ้นกระบวนการเมตาบอ ลิซึม ทำให้แคลอรี่ที่เราทานเข้าไปในรูปของอาหารถูกเผาผลาญไปทำให้เหลือสะสมไขมันในร่างกายน้อยลง
  4. ช่วยลดน้ำหนักแบบทางอ้อม ด้วยการเพิ่มเมตาบอลิซึมทำให้เกิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น จึงช่วยลดน้ำหนักได้
  5. ช่วยทำให้รับประทานอาหารมื้อต่อไปได้น้อยลง ช่วยยืดและชะลอความหิวออกไปให้นานขึ้นจึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
  6. ช่วยล้างพิษ ขับพิษของเสียออกจากร่างกาย หรือช่วยดีท็อกซ์
  7. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  8. ช่วยบำรุงกำลัง
  9. เป็นอาหารให้แก่เซลล์ต่างๆในร่างกาย
  10. ช่วยทำให้ร่างกายปลอดเชื้อโรค
  11. ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจมีสุขภาพดีและแข็งแรง
  12. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ด้วยการช่วยเพิ่มไขมันชนิดดี (HDL) และไปช่วยลดไขมันเลว (LDL) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ
  13. ช่วยในการขยายหลอดเลือดและป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
  14. ช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  15. ช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ไม่ให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง
  16. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคเบาหวานให้หายขาด
  17. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของตับอ่อนในการสร้างอินซูลินจึงดีต่อผู้เป็นโรคเบาหวาน
  18. ช่วยทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่ต้องฉีดอินซูลินทุกครั้งที่น้ำตาลในเลือดมีระดับสูง
  19. ช่วยลดการเจริญเติบโตของเนื้องอก
  20. ช่วยรักษาคางทูม ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวทาบริเวณที่เป็นคางทูมบ่อยๆ วันละ 3 ครั้ง ประมาณ 3 วันอาการจะดีขึ้น (น้ำมันมะพร้าว)
  21. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคท้องมาน (As Cites) (น้ำมันมะพร้าวอ่อน)
  22. ใช้เป็นยารักษาโรคอหิวาตกโรค (น้ำมันมะพร้าวอ่อน)
  23. ช่วยระบายท้อง ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น
  24. น้ำมันมะพร้าวมีส่วนช่วยบำบัดรักษาโรคกระดูกไขข้อ
  25. มีการใช้น้ำมันมะพร้าวผสมขี้ผึ้ง หรือทำเป็นน้ำมันเหลืองใช้นวดทาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้เป็นอย่างดี
  26. ช่วยรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจากการเป็นโรคเบาหวานมานานได้
  27. ใช้ทาแก้แผลน้ำร้อนลวกได้ (น้ำมันมะพร้าว)
  28. ช่วยสมานแผลไฟไหม้ได้เป็นอย่างดี
  29. น้ำมันมะพร้าวช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนังได้
  30. ใช้เป็นยารักษาแผลเน่าเปื่อย
  31. ใช้รักษาอาการผดผื่นคันตามผิวหนังได้
  32. สามารถใช้รักษาโรคผิวหนังได้ (น้ำมันมะพร้าว)
  33. ช่วยแก้ชันนะตุพุพอง ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวผสมเหง้า ขมิ้นชัน สารส้มเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น (จะใช้น้ำมันมะพร้าวอย่างเดียวก็ได้)
  34. ช่วยรักษารังแคและเชื้อราบนหนังศีรษะ ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการเคี่ยวน้ำกะทิแก่จัด แล้วนำมาทาบริเวณศีรษะทิ้งไว้ 30 นาที แล้วสระออกด้วยแชมพู โดยให้ใช้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง (น้ำมันมะพร้าว)
  35. ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวผสมกับสารส้ม น้ำปูนใส และเกลืออย่างละนิด ผสมให้เข้ากันแล้วเอามาทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จะทำให้หายเร็วขึ้น (น้ำมันมะพร้าว)
  36. น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อยีสต์ เชื้อไวรัส โปรโตซัว โดยไม่ทำให้เกิดอาการดื้อยาของเชื้อโรคและสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่เกราะไขมันห่อหุ้มเซลล์ ซึ่งยาปฏิชีวนะทั่วไปไม่สามารถฆ่าได้
  37. น้ำมันมะพร้าวหมักผม ช่วยบำรุงเส้นผมทำให้ผมดกดำ ทำให้สวยเงางามอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยการชโลมน้ำมันมะพร้าวให้ทั่วหนังศีรษะ ในปริมาณที่เหมาะสม แล้วนวดหนังศีรษะจนน้ำมันซึมทั่วหนังศีรษะ เส้นผม ปลายผม แล้วทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาทีแล้วค่อยสระออก (น้ำมันมะพร้าว)
  38. ช่วยบำรุงผมเสีย แก้ปัญหาผมร่วง ผมแตกปลาย ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมผมตอนแห้งแล้วทิ้งไว้ 30 นาทีแล้วสรระออก จะทำให้เส้นผมนุ่มสลวยไม่พันกัน เส้นผมตรงมากยิ่งขึ้น
  39. น้ำมันมะพร้าว ผมร่วง ผมหงอกช่วยป้องกันได้
  40. น้ำมันมะพร้าวทาหน้า ช่วยบำรุงผิวให้นุ่มชุ่มชื้น แนะนำให้ใช้เฉพาะตอนกลางคืนหรือช่วงก่อนเข้านอน
  41. ใช้ทาหน้าท้องระหว่างตั้งครรภ์ จะช่วยทำให้ผิวบริเวณนี้มีความชุ่มชื้นไม่แห้งแตกลายได้
  42. น้ำมันมะพร้าวใช้ทาช่วยแก้อาการผิวแห้ง ผิวแตก ผิวลอก ผิวเป็นขุยได้
  43. น้ำมันมะพร้าว (ได้จากการต้มกากมะพร้าวบดหรือการบีบ) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้หรือใช้ผลิตเป็นเครื่องสำอางก็ได้
  44. น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริค (Lauric Acid) สูงมาก ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับกรดไขมันที่มีในนมแม่ เมื่อบริโภคเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นโมโนลอรินที่มีฤทธิ์ในหารช่วยฆ่าเชื้อโรคต่างๆ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ยีสต์ โปรโตซัว เป็นต้น
  45. น้ำมันมะพร้าวสามารถนำมาใช้ทาผิวเพื่อป้องกันแสงแดด และยังป้องกันโรคมะเร็งจากแสงแดดได้อีกด้วย (แต่ใช้กันแดดจะดีกว่านะ)
  46. ใช้ทาผิวหลังอาบน้ำเพื่อป้องกันรอยหมองคล้ำจากแสงแดด ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวที่มีรอยหมองคล้ำค่อยๆจางหายไปได้
  47. ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในเครื่องสำอางหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์ และชะลอการเกิดริ้วรอย
  48. แก้ปัญหาส้นเท้าแตก ด้วยการทาน้ำมันมะพร้าวและนวดคลึงทุกวันก่อนนอนติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์เมื่อหายแล้วให้ใช้ต่อไปเรื่อยๆ รอยแตกจะไม่กลับมากวนใจคุณอีก
  49. ใช้เป็นคลีนซิ่งออยล์ทำความสะอาดผิว และยังมีส่วนช่วยในผลัดเซลล์ผิวอีกด้วย จึงช่วยทำให้ผิวใสอย่างเป็นธรรมชาติ
  50. น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ใช้นวดเพื่อกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้
  51. น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ สามารถนำมาใช้กับกิจกรรมทางเพศได้ ด้วยการนำมาใช้แทนสารหล่อลื่นธรรมชาติ เนื่องจากมีคุณสมบัติคล้ายสารหล่อลื่นในช่องคลอด
  52. น้ำมันมะพร้าว สามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่เหม็นหืน แต่จะจับตัวแข็งเมื่อถูกความเย็น ที่สำคัญไม่มีควันเมื่อถูกความร้อนสูง เหมาะแก่การทอดอาหารหรือขนมแบบทอดกรอบหรือแบบน้ำมันท่วม หรือจะใช้ผสมในน้ำผลไม้ลงในน้ำส้มคั้น ใส่แกงจืด ทำเป็นน้ำสลัด ราดบนน้ำแข็งใส ไอศกรีม หรือจะใส่ลงไปพร้อมกับหุงข้าวก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้ข้าวมีความหอม นุ่มอร่อยเป็นพิเศษ

แหล่งอ้างอิง : ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิยาลัยมหิดล,หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ดร.คิว ลานทอง, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่มา: Frynn.com